หน้าเว็บ

Lacture

บทที่ 7 การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม

(Disign for a variety of Web Environments)


ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์

1. เบราเซอร์ที่ใช้

       เบราเซอร์ คือ โปรแกรที่ใช้เรียกดูเว็บ สามารถแสดงได้ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหวเบราเซอร์ที่ได้ความนิยม เช่น 
                Internet Explorer
                Netscape
                Chrome
                Opera
          มาตรฐานกลางของเบราเซอร์ คือ w3c เป็นองค์กรที่กำหนดคุณสมบัติของเบราเซอร์ เราควรออกแบบตามคุณสมบัติดังนี้
                - สามารถใช้ได้กลับเบราเซอร์ได้ทุกรุ่น
                - เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
                - เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
                - เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ


2. ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์

          เป็นระบบที่เป็นปัจจัยหลักต่อ มีผลต่อการทำง่านของเบราเซอร์มาก โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของ เบราเซอร์ที่ใช้ได้ระดับความละเอียดของหน้าจอชุดสีของระบบ และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ


3. ความละเอียดของหน้าจอ

             ความละเอียดของหน้าจอ (monitor resolution มีหน่วยเป้น pixel ความละเอียดของหน้าจอไม่ขึ้นกับขนาดของมอิเตอร์ที่ใช้แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ได้ละเอียดแค่ไหน การออกแบบหน้าจอผู้ใช้ส่วนใหญ่จะชอบหน้าเว็บที่เปิดมาแล้วสมบูรณ์


4. จำนวนสีที่จอของผู้ใช้

              สามารถแสดงได้มอนิเตอร์มีความสามารถใหการแสดงสีแตกต่างกน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้นั้น ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth and color depthซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซลขุดสีสำหรับเว็บ (Web palette) หมายถึว ชุดสีจำนวน216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows and Mac ปัจจุบัน Web palette มีความสำคัญน้อยลง เนื่องจากจอของผู้ใข้สามารถแสดงสีได้มาขึ้น

5. ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่อง

              ชนิดของตัวอักษรมี 2 แบบ คือ

                      1. MS Sans Serif  
                             เป็นฟอนต์แบบชิตแมท ซึ่งออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
                      2. Microsoft Sans Serif 
                            เป็นฟอนด์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น โอยมีกรออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียวแต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัดตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic Text

6. ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 

              ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลของเว็บ


7. ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี 

              ผู้ออกแบบเว็บจะต้องระวังไม่ให้หน้าเว็บมีโทนสีมืดหรือสว่างจนเกินไป และควรเลือกใช้โทนสีที่ต่างกันพอสมควร





บทที่ เลือกใช้สีเว็บไซต์

(Designing Web Colors)


เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์


             สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์

          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่รูปภาพ ตัวอักษร สีพื้นหลัง การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้ เช่น ข้อมูลใหม่   หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing) มี 2 แบบ

             1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing) จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์ ทีวี 
             2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing) การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี

            -   ความเป็นระเบียบของสี ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย ขาดระเบียบ และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
            -   เป้าหมายในเรื่องสี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายน่าสนใจและสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)

            1. ชุดสีร้อน (Warm Color Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว และสีเขียว โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ เรียบร้อย
            2. ชุดสีแบบเดียว (Monochromatic Color Scheme) เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียวแต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม อ่อนในระดับต่าง ๆ และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา เพราะขาดความหลากหลายของสี
            3. ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous Color Scheme) ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้ แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
            4. ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split Complementary Color Scheme) เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น แต่จะมีผลให้ความสดใส ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
            5. ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split Complementary Color Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
            6. ชุดสีเย็น (Cool Color Scheme) เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น ให้บรรยากาศคล้ายทะเล รู้สึกเย็นสบาย
            7. ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic Color Scheme) เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
            8. ชุดสีตรงข้าม (Complementary Color Scheme) คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น





บทที่ ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
(Disigning Web Graphics)



รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ(GIF,JPGและPNG)

      1. GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format

           -  ได้รับความนิยมในยุคแรก           
           -  มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิตทำให้มีสีมากกว่า 256 สี
           -  มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวนอนของพิกเซลเหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น

     2. JPG ย่อมาจาก Joint Photogtaphic Experts Group

           -  มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color)สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
           -  ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
           -  ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด

     3. PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic

           -  สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต
           -  มีระบบการบีบอัดแบบ Deflateที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย(lossless)
           -  มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า(Gamma) และความโปร่งใส (Transparency)ในตัวเอง

ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ

          รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์นั่นก็คือหน่วยพิกเซล ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกหับองค์ประกอบอื่นๆในหน้าเว็บ รวมถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์ด้วย

ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ

          -  ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วยpixel per inch (ppi)
          -  แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
          - ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว

โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ

       ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภททีนำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
          -  Adobe PhotoShop
          -  Adobe ImangeReady
          -  Firework
          *ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ รูปแบบไฟล์,ชุดสีที่ใช้,จำนวนสี,ระดับความสูญเสีย,ความโปร่งใสและสีพื้นหลัง

คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ

         1.  ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ(Web Palette)
         2.  เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEG
         3. ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย(Slices)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น